ADA หรือ Cardano สร้างขึ้นในปี 2015 โดย Charles Hoskinson (เขาคือหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum) สร้างมาเพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการ Smart Contract คล้ายกับ Etheruem และภายใน cardano ใช้ระบบฉันทามติแบบ Proof-of-Stake (PoS)
ทางผู้พัฒนากล่าวว่า Cardano เป็นบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 3 เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นในบล็อกเชนยุคก่อนๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ความสามารถในการเพิ่มขยาย (Scalability), ความสามารถในการทำงานร่วมกัน (Interoperability) และ ความยั่งยืน (Sustainability) ผ่านสถาปัตยกรรมแบบเป็นลำดับชั้น (layered architecture)
ทำความรู้จัก ADA ให้มากขึ้น
Cardano(ADA) เป็นเครือข่ายบล็อกเชนกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใส่สัญญาอัจฉริยะ(smart contract) เพื่อสร้างเป็น Dapp, DeFi, โทเคนและ NFT ได้ ก่อตั้งโดย นาย Charles Hoskinson ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่วมก่อตั้งEthereum โดยจุดประสงค์ในการสร้าง Cardano ขึ้นมานั้นก็เพื่อแก้ปัญหาที่บล็อกเชน Ethereum กำลังเผชิญอยู่ นั่นคือความแออัดของธุรกรรม เพราะเครือข่ายไม่สามารถขยายขนาดได้ ส่งผลให้ธุรกรรมไปช้า และค่าธรรมเนียมใช้งานแพง (ซึ่งในตอนนี้ทาง Ethereum ก็ได้เริ่มอัพเกรด ETH 2.0 เพื่อแก้ปัญหาแล้ว)
Cardano เป็นหนึ่งในบล็อคเชนที่ใหญ่ที่สุดที่ใช้กลไกฉันทามติแบบ proof-of-stake(PoS) ได้สำเร็จ ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าฉันทามติแบบ proof-of-work(PoW) ที่ Bitcoin ใช้ และแม้ว่า Ethereum ที่ใหญ่กว่ามากเพิ่งจะอัพเกรดเป็นPoS ได้เสร็จสิ้นแล้ว(The Merge) แต่การเปลี่ยนแปลงต่ออีกจากนี้ก็มีหลายขั้นตอนและกินเวลายาวนาน
ระบบฉันทามติ PoS ของ Cardano นั้นใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า Ouroboros ซึ่งเป็นระบบที่มีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัยที่ตรวจสอบยืนยันได้ ใช้พลังงานน้อยลงอย่างมาก โดยอ้างว่ามีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากกว่า Bitcoin ถึง 4เท่า
Cardano นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
1. Scalability คือเพิ่มความสามารถในการรองรับจำนวนธุรกรรมต่อวินาทีได้มากยิ่งขึ้น
2. Interoperability เพิ่มความสามารถในเรื่องของการแลกเปลี่ยนกับโทเค่นได้ในทุกรูปแบบ ทำให้บล็อกเชนสามารถร่วมงานกับคริปโตเคอเรนซี่สกุลอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น
3. Sustainability สามารถปรับตัวตามตลาดคริปโตได้อย่างยั่งยืน
โดยการพัฒนาบล็อกเชนของ Cardano นั้นมีการพัฒนาแบบ 2 เลเยอร์ด้วยกันคือ
1. Settlement Layer คือ เลเยอร์ในการจัดการธุรกรรม การบันทึกธุรกรรม ซึ่งจะใช้ระบบ Proof-Of-Stake (Pos) ในการยืนยันการทำธุรกรรมต่างๆ บนบล็อกเชน
2. Computation Layer เป็นเลเยอร์ที่พัฒนาเพื่อสร้างสัญญา Smart Contract ให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ได้เองในการทำธุรกรรม
บล็อกเชน Cardano สามารถรองรับการทำธุรกรรมได้มากถึง 257 ธุรกรรม/วินาที ในขณะที่บล็อกเชน Bitcoin ทำได้เพียง 7 ธุรกรรม/วินาที และ Ethereum ทำได้ 20 ธุรกรรม/วินาที เท่านั้น
ADA นั้นถูกจำกัดจำนวนไว้ที่ 45,000 ล้านเหรียญ ซึ่งปัจจุบัน (23 กันยายน 2022) มีเหรียญ ADA ออกมาแล้วกว่า 34,000 ล้านเหรียญ มีการจัดสรรจำนวน ADA โดยประมาณ 16% ของอุปทานทั้งหมดจะตกเป็นของผู้ก่อตั้งโครงการ และส่วนที่เหลืออีก 84% จะถูกแบ่งระหว่างนักลงทุน
ADA ใช้สำหรับจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้งานเครือข่าย และใช้วางเดิมพันเพื่อเป็นโหนดตรวจสอบธุรกรรม ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดอยู่ในอันดับที่ 8 ของตลาดสกุลเงินคริปโต ที่มีมากกว่า 21,000 สกุล coinmarketcap
แม้ว่าปัจจุบันบล็อกเชน Cardano ยังไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มที่ แต่การอัพเกรด Alonzo hard fork ที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ก็ส่งผลให้เริ่มมีการใช้สัญญาอัจฉริยะได้บนเครือข่าย อย่างโปรโตคอล Meld ที่เป็นแพลตฟอร์มDeFi ล่าสุดบนเครือข่าย Cardano ก็สามารถดึงดูดให้ผู้ใช้ Stake เหรียญมูลค่ากว่า 10 ล้านดอลลาร์ได้ภายใน 3 วันนอกจากนี้ยังมี ADA Finance, ADALend, SundaeSwap เป็นต้น
อ้างอิง
1 thought on “ข้อมูลเหรียญ Cardano (ADA)”