เครือข่าย Layer-2 กุญแจสำคัญสู่อนาคตของ DeFi
เครือข่ายบล็อกเชน Ethereum นั้นถือว่ามาไกลมากในแง่ของระบบการเงินกระจายอำนาจ (DeFi) ที่มีแพลตฟอร์มมากมายเขียนอยู่บนบล็อกเชน Ethereum ซึ่งนั่นทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการปรับขนาดเครือข่าย เพราะเกิดการใช้งานกันเป็นจำนวนมาก ธุรกรรมแออัด ล่าช้า และค่าธรรมเนียมแพง ทางแก้ปัญหาด้วยเลเยอร์ 2 เช่น เทคโนโลยี rollups(โรลอัพ) และ sidechains(ไซด์เชน) ยังคงเป็นกุญแจสำคัญสู่อนาคตของ DeFi ที่จะนำ Ethereum ให้ไปต่อได้กับ Web 3.0 ในฐานะ”คอมพิวเตอร์ของโลก”
ในเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว Ethereum ได้ดำเนินการอัพเกรด”ลอนดอน ฮาร์ดฟอร์ก” ซึ่งเป็นหนทางเริ่มต้นไปสู่ Ethereum 2.0 และการอัพเดตที่โดดเด่นที่สุดก็คือ EIP-1559 ที่ช่วยให้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมนั้นลดลง และ ETH บางส่วนที่ถูกจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมนั้นถูกเบิร์นออกไปตลอดกาล ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด แต่มาจนถึงขณะนี้ในตลาด DeFi และ nonfungible token (NFT) ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของความเร็วในการทำธุรกรรม และค่าธรรมเนียมที่ถือว่ายังคงสูงอยู่
เนื่องจากปัจจุบัน Ethereum สามารถประมวลผลได้ประมาณ 30 ธุรกรรมต่อวินาที เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการชำระเงินแบบดั้งเดิมอย่าง Visa ที่ทำได้ถึง 1,700 ธุรกรรมต่อวินาที ก็นับว่า Ethereum จำเป็นต้องตามให้ทัน แม้ว่า Ethereum 2.0 จะเปลี่ยนจาก proof-of-work (PoW) เป็น proof-of-stake (PoS) แต่ความเร็วเครือข่ายก็ยังทำได้แค่ประมาณ 50 ธุรกรรมต่อวินาที ซึ่งยังห่างไกลจากความต้องการของระบบการชำระเงินทั่วโลก
นี่จึงเป็นที่มาของการพัฒนาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ Ethereum 2.0 ก็คือ Sharding (การแบ่งส่วน) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของธุรกรรมได้มากกว่า 3,000 ธุรกรรมต่อวินาที ซึ่งถือว่าดีกว่า Visa แต่ก็ยังดีไม่พอสำหรับระบบการเงินอย่าง DeFi ที่รันตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน, ตลาด NFT, โลกเสมือนจริงที่ขับเคลื่อนด้วย NFT และเกมบล็อคเชนที่ผู้เล่นแต่ละคนต้องทำธุรกรรมหลายรายการทุกนาที ถือเป็นความถี่ในการทำธุรกรรมที่ซับซ้อนมากกว่าระบบการชำระเงินแบบดั้งเดิม ยิ่งทำให้เราเห็นภาพได้ชัดว่า เครือข่าย Ethereum นั้นมีความจำเป็นต้องปรับขนาดเป็นอย่างมาก
แล้วเครือข่ายเลเยอร์ 2 คืออะไรล่ะ?
ก่อนอื่นเรามีเทคโนโลยีที่เรียกว่า “โรลอัพ” ที่มาในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้ง Optimistic, Validium, Plasma และ ZK Rollups เกิดขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการปรับขนาด โดยเชนของโรลอัพจะช่วยตรวจสอบธุรกรรมก่อนที่จะส่งไปบันทึกที่เชนหลัก(Ethereum) ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างให้กับเครือข่ายหลัก(Ethereum) และสามารถเพิ่มความเร็วโดยรวมได้ ซึ่งโรลอัพ ที่เกิดขึ้นและได้มีการเปิดใช้งานแล้ว ได้แก่ Arbitrum และ Optimism
ถัดมาก็คือ “ไซด์เชน” ที่เราเรียกมันว่า เลเยอร์ที่ 2 ซึ่งเป็นบล็อคเชนรองแบบขนาน ที่เชื่อมต่อกับเชนหลัก ซึ่งช่วยลดภาระในการประมวลผลของเครือข่ายหลัก และประโยชน์เพิ่มเติมของ sidechains คือพวกมันยังทำหน้าที่เป็น “สะพาน” ที่ทำงานร่วมกันได้ในหลายเครือข่ายพื้นฐาน ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง เพิ่มปริมาณงาน
เมื่อบล็อกเชนของ Ethereum ทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยี “rollups” และ “sidechains” จะส่งผลให้เพิ่มศักยภาพในการทำธุรกรรมได้มากถึง 100,000 รายการต่อวินาที เลยทีเดียว! ด้วยสิ่งนี้จะนำพาให้บล็อกเชนของ Ethereum ไปสู่Web 3.0 ในฐานะ”คอมพิวเตอร์ของโลก” ได้ ในระดับความเร็วที่ต้องการ ต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งเป็นระบบการเงินที่เข้าถึงได้และราคาไม่แพงสำหรับทุกคน
ที่มา cointelegraph
3 thoughts on “เครือข่าย Layer-2 กุญแจสำคัญสู่อนาคตของ DeFi”