
Impermanent loss
หากคุณเคยเกี่ยวข้องกับ DeFi มาก่อน คุณคงเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว impermanent loss เกิดขึ้นเมื่อราคาโทเค็นของคุณที่ฝากเข้าไปใน pool มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับราคาตอนเริ่มต้นฝาก ยิ่งการเปลี่ยนแปลงมีมากเท่าไรก็ยิ่งสูญเสียมากขึ้นเท่านั้น
แต่เดี๋ยวก่อน! ฉันจะสูญเสียเงินจากการเพิ่มสภาพคล่องลงใน pool เหรอ? และเหตุใดจึงเป็นการสูญเสียแบบ impermanent loss? การสูญเสียนี้ มาจากลักษณะการออกแบบโดยธรรมชาติของตลาดชนิดพิเศษที่เรียกว่า automated market maker หรือ AMM เป็นตัวสร้างตลาดแบบอัตโนมัติ การจัดหาสภาพคล่องให้กับ liquidity pool อาจเป็นการลงทุนที่ทำกำไรได้ แต่คุณจะต้องคำนึงถึงแนวคิดเรื่อง impermanent loss อยู่เสมอ
คำนำ
โปรโตคอล DeFi เช่น Uniswap, SushiSwap หรือ PancakeSwap ได้เห็นปริมาณและสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โปรโตคอลสภาพคล่อง (liquidity protocols) เหล่านี้ ช่วยให้ทุกคนที่มีเงินทุนกลายเป็นผู้สร้างตลาดและได้รับค่าธรรมเนียมการซื้อขาย การทำให้ตลาดเป็นประชาธิปไตยนี้ ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ราบรื่นในพื้นที่ crypto
ดังนั้น คุณจำเป็นต้องรู้อะไรบ้างหากต้องการเพิ่มสภาพคล่องให้กับแพลตฟอร์มเหล่านี้? ในบทความนี้ เราจะพูดถึงหนึ่งในแนวคิดที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ impermanent loss (การสูญเสียที่ไม่ถาวร)
Impermanent loss คืออะไร?
Impermanent loss เกิดขึ้นเมื่อคุณฝากคู่โทเค็นของคุณ (ให้สภาพคล่อง) ไว้ใน liquidity pool (กลุ่มสภาพคล่อง) และราคาของสินทรัพย์ที่ฝากไว้มีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับตอนที่ฝาก ยิ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ยิ่งใหญ่เท่าไร คุณก็ยิ่งต้องเผชิญกับ impermanent loss มากขึ้นเท่านั้น ในกรณีนี้ การขาดทุนหมายถึง มูลค่าดอลลาร์ ณ เวลาที่ถอน น้อยกว่า เมื่อตอนฝากเงิน
Pool ที่มีสินทรัพย์ซึ่งอยู่ในช่วงราคาที่ค่อนข้างแคบ impermanent loss จะเสี่ยงน้อยลง ตัวอย่างเช่น เหรียญ Stablecoin หรือเหรียญที่ห่อไว้ (wrapped) ในรูปแบบต่างๆ จะอยู่ในช่วงราคาที่ค่อนข้างจำกัด ในกรณีนี้ ผู้ให้บริการสภาพคล่อง (liquidity providers: LPs) มีความเสี่ยงด้าน impermanent loss น้อยกว่า
แล้วเหตุใด LPs จึงยังคงให้สภาพคล่อง แม้ว่าพวกเขามีโอกาสที่จะต้องเผชิญกับความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น? impermanent loss นั้นสามารถชดเชยได้ด้วยค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ในความเป็นจริง แม้แต่ pool บน Uniswap ที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อ impermanent loss ก็สามารถทำกำไรได้เนื่องจากได้รับค่าธรรมเนียมการซื้อขาย
Uniswap เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม 0.3% ในทุกการซื้อขาย(swap) เงินค่าธรรมเนียมนี้จะส่งตรงไปยัง LPs หากมีปริมาณการซื้อขายจำนวนมากเกิดขึ้นใน pool ที่กำหนด การให้บริการสภาพคล่องก็จะสามารถสร้างผลกำไรได้ แม้ว่า pool นั้นจะเผชิญกับ impermanent loss อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับโปรโตคอล, pool เฉพาะ, สินทรัพย์ที่ฝาก และเงื่อนไขตลาดที่กว้างขึ้น
Impermanent loss เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เรามาดูตัวอย่างว่า impermanent loss อาจมีลักษณะอย่างไรสำหรับ ผู้ให้บริการสภาพคล่อง (LPs)
ลิซ่าฝาก 1 ETH คู่กับ 100 DAI ไว้ใน liquidity pool ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบดูแลสภาพคล่องอัตโนมัติ (AMM) คู่โทเค็นที่ฝากจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน ซึ่งหมายความว่า ราคาของ ETH เท่ากับ 100 DAI ณ เวลาที่ฝากเงิน นอกจากนี้ยังหมายความว่า ลิซ่าได้ฝากคู่โทเค็นที่มีมูลค่าคิดเป็นเงินดอลลาร์ รวมทั้งหมด คือ 200 ดอลลาร์ ณ เวลาที่ฝากเงิน
นอกจากนี้ ใน pool มีโทเค็น 10 ETH และ 1,000 DAI เป็นทรัพย์สินทั้งหมดที่มีในนั้น ซึ่งได้รับมาจาก LPs รายอื่น ๆ เช่นเดียวกับลิซ่า ดังนั้น ลิซ่ามีส่วนแบ่งคิดเป็น 10% ของ pool และสภาพคล่องทั้งหมดคือ 10,000
สมมติว่าราคาของ ETH เพิ่มขึ้นเป็น 400 DAI ในขณะที่สิ่งนี้เกิดขึ้น นักเทรดที่หวังเก็งกำไรจะเพิ่ม DAI ลงใน pool และถอน ETH ออกจาก pool (นำ DAI มา swap เป็น ETH) จนกว่าอัตราส่วนจะสะท้อนถึงราคาปัจจุบัน โปรดจำไว้ว่า AMM ไม่มี order book สิ่งที่กำหนดราคาของสินทรัพย์ใน pool คืออัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์ใน pool แม้ว่าสภาพคล่องใน pool จะคงที่ (10,000) แต่อัตราส่วนของสินทรัพย์ในนั้นก็เปลี่ยนแปลงไป
หากตอนนี้ ETH มีราคาอยู่ที่ 400 DAI อัตราส่วนระหว่างจำนวน ETH และจำนวน DAI ที่อยู่ใน pool จะเปลี่ยนไป ขณะนี้จะมี 5 ETH และ 2,000 DAI อยู่ใน pool ต้องขอบคุณการทำงานของเทรดเดอร์ที่เก็งกำไร
ลิซ่าจึงตัดสินใจถอนเงิน(คู่โทเค็น)ของเธอออก ดังที่เราทราบก่อนหน้านี้ เธอมีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่ง 10% ของ pool เป็นผลให้เธอสามารถถอนออกได้ 0.5 ETH และ 200 DAI รวมเป็นเงิน 400 ดอลลาร์ เธอทำกำไรได้ดีจากการฝากโทเค็นมูลค่า 200 ดอลลาร์ ใช่ไหม?
แต่เดี๋ยวก่อน จะเกิดอะไรขึ้นกับมูลค่าสินทรัพย์ของเธอ ถ้าเธอถือ 1 ETH และ 100 DAI ไว้ โดยไม่ได้ฝากลงใน pool ตั้งแต่แรก? มูลค่าดอลลาร์รวมของการถือครองไว้เฉย ๆ เหล่านี้จะอยู่ที่ 500 ดอลลาร์ ในขณะนี้
เราจะเห็นได้ว่ามันน่าจะได้กำไรมากกว่า ถ้าลิซ่าจะใช้กลยุทธ์ HODLing แทนที่จะฝากไว้ใน liquidity pool นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า impermanent loss ในกรณีนี้ การสูญเสียของลิซ่าถือว่าไม่มากนัก เนื่องจากเงินฝากเริ่มแรกมีจำนวนค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม โปรดทราบว่า impermanent loss อาจนำไปสู่การสูญเสียครั้งใหญ่ (รวมถึงส่วนสำคัญของเงินฝากเริ่มต้น)
ด้วยเหตุนี้ ตัวอย่างของลิซ่าจึงไม่สนใจค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่เธอจะได้รับจากการเป็น LPs โดยสิ้นเชิง ในหลายกรณี ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจะสามารถชดเชยความสูญเสียและทำให้การจัดหาสภาพคล่องมีผลกำไรได้ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจ impermanent loss ก่อนที่จะมอบสภาพคล่องให้กับโปรโตคอล DeFi
การประมาณค่า impermanent loss
ดังนั้น impermanent loss จะเกิดขึ้นเมื่อราคาของสินทรัพย์ใน pool มีการเปลี่ยนแปลง แต่มันเท่าไหร่กันแน่? เราสามารถพลอตสิ่งนี้บนกราฟได้ โปรดทราบว่าไม่ได้รวมค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการจัดหาสภาพคล่อง

นี่คือบทสรุปของสิ่งที่กราฟบอกเราเกี่ยวกับการขาดทุนเมื่อเทียบกับ HODLing:
- การเปลี่ยนแปลงราคา 1.25เท่า = ขาดทุน 0.6%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 1.50เท่า = ขาดทุน 2.0%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 1.75เท่า = ขาดทุน 3.8%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 2เท่า = ขาดทุน 5.7%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 3เท่า = ขาดทุน 13.4%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 4เท่า = ขาดทุน 20.0%
- การเปลี่ยนแปลงราคา 5เท่า = ขาดทุน 25.5%
มีบางสิ่งที่สำคัญ ที่คุณต้องเข้าใจด้วย impermanent loss จะเกิดขึ้นไม่ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดก็ตาม สิ่งเดียวที่ impermanent loss ใส่ใจก็คืออัตราส่วนราคาที่สัมพันธ์กับเวลาที่ฝาก
ความเสี่ยงในการให้สภาพคล่องแก่ AMM
จริงๆ แล้วคำว่า impermanent loss ไม่ใช่ชื่อเรียกที่ดีเท่าไร ที่มันถูกเรียกว่า impermanent loss ก็เพราะว่าการขาดทุนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณถอนเหรียญออกจาก liquidity pool เท่านั้น เมื่อถึงจุดนั้น ความสูญเสียจะกลายเป็นสิ่งถาวร ค่าธรรมเนียมที่คุณได้รับอาจสามารถชดเชยความสูญเสียเหล่านั้นได้ แต่ก็ยังเป็นชื่อที่ทำให้เข้าใจผิดเล็กน้อย
โปรดระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อคุณฝากเงินเข้า AMM ดังที่เราได้กล่าวไปแล้ว liquidity pool บางแห่งมีความเสี่ยงต่อ impermanent loss มากกว่า pool อื่น ๆ ตามกฎง่ายๆ ยิ่งสินทรัพย์ใน pool มีความผันผวนมากเท่าใด คุณก็ยิ่งมีโอกาสขาดทุนแบบ impermanent loss มากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังอาจดีกว่าถ้าเริ่มต้นด้วยการฝากเงินจำนวนเล็กน้อย ด้วยวิธีนี้ คุณจะสามารถประมาณคร่าวๆ ได้ว่าผลตอบแทนใดที่คุณคาดหวังได้ ก่อนที่จะตัดสินใจฝากเงินจำนวนที่มีนัยสำคัญมากขึ้น
ประเด็นสุดท้ายประการหนึ่งคือ การมองหา AMM ที่ได้รับการทดสอบแล้ว และมีการทดสอบเพิ่มเติม DeFi ช่วยให้ทุกคนแยก AMM ที่มีอยู่และเพิ่มการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้อาจทำให้คุณพบกับข้อบกพร่อง และอาจทำให้เงินของคุณติดอยู่ใน AMM ตลอดไป หาก liquidity pool ให้คำมั่นว่าจะให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติ ก็อาจมีจุดที่ทำให้เราสูญเสียได้ในที่ไหนสักแห่ง และความเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน
ส่งท้าย
Impermanent loss เป็นหนึ่งในแนวคิดพื้นฐานที่ใครก็ตามที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องให้กับ AMM ต้องทำความเข้าใจ กล่าวโดยสรุป หากราคาของสินทรัพย์ที่ฝากมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การฝาก LP อาจเผชิญกับ Impermanent loss ได้
ที่มา LINK