Blockchain แบบไหนที่เรียกว่าเป็น Decectralized (การกระจายศูนย์)

Blockchain แบบไหนที่เรียกว่าเป็น Decectralized
Decentralization ถ้าแปลแบบตรงตัว จะแปลว่า “การกระจายศูนย์” ซึ่งถ้าจะใช้กับวงการ Blockchain หรือแพลตฟอร์ม DeFi,Dapps ที่ปราศจากผู้มีอำนาจหรือการมีศูนย์กลางมาคอยควบคุม
การจะมองว่าบล็อกเชนหรือแพลตฟอร์มนั้น มีระบบที่เป็น Decentalized หรือไม่ ก็ควรจะพิจารณาจากหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. มีคนควบคุมสูงสุดหรือ ผู้นำ (leader) หรือไม่?
ถ้าหากแพลตฟอร์ม หรือบล็อกเชนนั้นๆ มีการกำหนดทิศทาง หรือมีศูนย์รวมอำนาจการตัดสินใจที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ก็ไม่ถือว่าเป็น Decentralized
ยกตัวอย่างคนควบคุมก็เช่น ถ้าเป็น Binance Smart Chain (BSC) ก็คือ CZ ซึ่งถ้าหากเกิดปัญหาขึ้นกับที่ตัว CZ เช่นปัญหาด้านกฎหมายที่รุนแรง(สมมตินะคะสมมติ) ก็มีความเป็นไปได้ที่ BSC อาจจะยุติการทำงาน ระบบไม่สามารถรันต่อไปได้ด้วยตัวของมันเอง
ในขณะที่บล็อกเชนของ Bitcoin ชื่อของ leader ไม่มีปรากฎ มีเพียงชื่อของผู้สร้าง ‘ซาโตชิ นากาโมโตะ’ ซึ่งก็เป็นนามแฝง ไม่รู้ตัวตนว่าเป็นใคร แต่ระบบก็ยังคงรันต่อไปได้นับตั้งแต่วันที่เกิดบล็อกแรก มาจนถึงปัจจุบัน และแม้จะโดนประเทศจีน แบน bitcoin ซักกี่รอบ ก็ยิ่งพิสูจน์ว่าไม่มีใครสามารถแบน bitcoin ได้ แต่ bitcoin กลับแข็งแกร่งขึ้นทุกครั้งหลังจากที่ถูก Ban
นั่นก็เป็นเพราะการควบคุมการทำงานของ bitcoin กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ไม่มีศูนย์กลาง ไม่มีเจ้าภาพ การจะแบน bitcoin แค่ที่ใดที่หนึ่ง ก็ไม่สามารถหยุดระบบของ bitcoin ทั้งหมดได้
2. สามารถหาศูนย์สั่งการ (HeadQuater) ที่ “ชัดเจน” (clear) ได้หรือไม่?
ถ้าหากแพลตฟอร์มนั้น หรือบล็อกเชนนั้น มีการระบุที่ตั้งชัดเจน(มีเจ้าภาพนั่นแหละ) หรือมีศูนย์สั่งการหรือบริหารงานชัดเจน ก็สามารถที่จะถูกแทรกแซงโดยผู้มีอำนาจอื่นๆ ทำให้ระบบไม่สามารถรันได้โดยอิสระ และชัดเจนเลยว่า ไม่มีความกระจายศูนย์กลาง ไม่ Decentralized ซึ่งเปรียบเทียบกับบล็อกเชนของ bitcoin ตามที่กล่าวไปในข้อแรกว่าระบบการทำงานมีการกระจายตัวอยู่ทั่วโลก หาศูนย์สั่งการไม่เจอ
3. คนในระบบ หรือ ส่วนหนึ่งของระบบ มีอิสระในหน้าที่หรือไม่?
ในระบบแบบ Decentralized ใครจะทำอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องส่งรายงานให้กับใคร และต้องรับผิดชอบตัวเอง อย่างเช่นบนบล็อกเชนของ Ethereum นักพัฒนา(Dev.) สามารถเขียน Smart Contract และ Deploy อะไรลงไปก็ได้ไม่มีข้อจำกัด Code จะไม่มีทางเปลี่ยน และไม่ถูกควบคุมโดยใคร
ในการกลับกันบาง chain ที่ Centralized อย่างเช่น Bitkub Chain เมื่อเวลา Deploy Code ไป ถ้าหากมี การ Rug Pool เจ้าของ chain อาจจะปกป้องลูกค้าของ chain ได้โดยการติดตามตัว เนื่องจากทุกคนต้อง kyc ทำให้ตามเงินได้ง่ายกว่า ซึ่ง ณ จุดนี้ไม่ได้จะบอกว่าอะไรดีกว่ากัน เพราะทุกอย่างมี ข้อดี ข้อเสีย ต้นทุน ที่ แตกต่างกันไป อย่างแรก(Decentralized) อาจจะส่งเสริม นวัตกรรมได้ดีกว่า ในขณะที่อย่างหลัง(Centralized) อาจจะปกป้องผู้ใช้งานได้ดีกว่า
4. ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบถูกโจมตี ระบบทั้งหมดจะอยู่รอดได้หรือไม่?
ยกตัวอย่างเมื่อครั้งที่บล็อกเชน Solona (SOL) ถูกโจมตีไปที่ “การเพิ่มจำนวนธุรกรรมของระบบ” เนื่องจากตัวระบบของ Solona เอง จะมีการสร้างจำนวน Transaction หรือธุรกรรมย่อยๆที่ไม่เกี่ยวกับ Transaction หลักขึ้นมามาก เมื่อระบบถูกโจมตีด้วย Spam จนจำนวนธุรกรรมทั้งหมดเพิ่มไปเป็นหลักหลายแสนธุรกรรม จึงส่งผลให้ระบบล่มไปเป็นเวลาหลัก สิบชั่วโมง
ในขณะที่บล็อกเชน Ethereum (ETH)ใช้วิธี Decentralize ข้อจำกัดนี้โดยการผลักความรับผิดชอบไปที่ผู้ใช้ พูดง่ายๆก็คือ การทำธุรกรรมจะต้องแข่งกัน Bid ค่า gas (ค่าธรรมเนียมธุรกรรม) ทำให้คนที่จะทำ Spam มีต้นทุนสูงจนทำให้ไม่คุ้มที่จะทำให้ระบบล่ม
จะเห็นได้ว่าค่า gas ของ Solona นั้นถูกกว่า แต่ก็ต้องแลกมาในด้านความปลอดภัยของระบบที่น้อยกว่า ในขณะที่ Ethereum นั้นตัวระบบจะมีความปลอดภัยที่ดีกว่า แต่ก็แลกมาด้วยค่า gas ที่สูงมากนั่นเอง
5. ความรู้, หลักการ, หรือ อำนาจได้ถูกกระจายไปให้กับชุมชน หรือไม่
ยกตัวอย่างถ้าหาก CZ หรือ Team Lead ของ บริษัท Binance โดนฟ้อง หรือ โดนจับ จะเกิดอะไรขึ้นกับ Binance และองค์ความรู้ที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ได้ถูกส่งต่อไปให้ community หรือไม่?
ในขณะเดียวกันถ้าหาก Vitalik ซึ่งเปรียบเหมือนผู้นำด้านจิตวิญญาณของ Ethereum วางมือไป ทาง community ก็ยังจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากบนบล็อกเชนของ Ethereum นั้น มีนักพัฒนาระดับ Expert (เหนือกว่า Senior) หรือแม้กระทั่งระดับ God อยู่บน Ethereum เป็นจำนวนมาก ยังไง Innovation ก็จะเกิดขึ้นบน Ethereum ต่อไปได้แน่นอน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า Decentralization คือคุณสมบัติเฉพาะตัวของ Blockchain และเป็นคุณสมบัติที่สร้างได้ยากมาก ซึ่งต้องแลกมากับต้นทุนที่แพง กับความช้า ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล
ในขณะที่หลายๆบล็อกเชนกำลังถูกพัฒนาต่อไป แต่เราจะเห็นได้ว่าบล็อกเชนของ Ethereum นั้นได้ทำส่วนนี้ไว้ได้ดีมาก คือ Decentralized และ Security ซึ่งก็ยังไม่มี blockchain ตัวไหน ชนะ Ethereum ได้ บน Data layer แต่ในท้ายที่สุดผู้ใช้งานจะเป็นคนตัดสินว่าบล็อกเชนไหนจะเป็นผู้ชนะ ในระยะยาว
ที่มา LINK