Governance token เป็นโทเคนที่สร้างมาจากแพลตฟอร์ม DeFi ตัวอย่างเช่น Uniswap, Compound, Maker เพื่อเป็นรางวัล ให้กับผู้ใช้งานที่เข้ามาเป็นผู้ให้บริการสภาพคล่อง(Liquidity Provider : LP) ให้กับ Pools ของ DeFi เหล่านี้ พูดง่ายๆก็คือ การที่เราเอาเงินเข้าไปฝากไว้ใน Pools (คล้ายๆการปล่อยกู้กินดอก) เราจะได้ดอกเบี้ย และได้รางวัลเป็น Governance token นี้ด้วย

 

ขั้นตอนก็คือ เมื่อเราฝากเงินเข้าไปในพูล เราจะได้สัญญาตัวหนึ่งที่เป็นสิ่งยืนยันว่าเราเป็น LP สัญญานั้นมาในรูปแบบของ LP token จากนั้น เราสามารถเอา LP token นี้ ไปล็อกต่ออีกพูลหนึ่ง(เรียกว่า Yield Farming) เราก็จะได้ Governance token มาถือไว้ 

 

การที่แพลตฟอร์ม DeFi เหล่านี้ต้องออก Governance token มาเป็นรางวัล ก็เพื่อจูงใจให้มีคนอยากเข้ามาเป็น LP เยอะๆ เพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับ Pools เยอะๆ เนื่องจากว่าการเป็น LP เพื่อกินดอกเบี้ยนั้น ก็มีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาคริปโตที่เอามาลงพูล ดอกเบี้ยที่ได้รับจากพูล อาจไม่คุ้มกับเงินคริปโตที่เอามาลง

 

Governance token ทำอะไรได้บ้าง? ผู้ที่ถือโทเคนนี้ จะมีสิทธิในการโหวตเพื่อปรับปรุงระบบ แต่ว่าจะไม่มีปันผลใดๆจากเหรียญนี้ ผู้ที่ถือสามารถทำกำไรจากเหรียญนี้ได้อีกทอด โดยการนำไปขายที่กระดานเทรดคริปโต ซึ่งการที่โทเคนใดๆจะมีมูลค่าขึ้นได้ ก็ขึ้นอยู่กับ Tokenomic(ระบบนิเวศน์) ของแพลตฟอร์ม DeFi นั้นๆ

 

ยกตัวอย่าง Governance token บางตัว เช่น Maker ( MKR ) ที่ใช้กลไก “ซื้อคืนและเบิร์น” เพื่อรักษามูลค่าของโทเคน กลไกนี้ ทำให้โทเคนมีราคาที่สูงขึ้นได้ เพราะเป็นการลดจำนวน MKR ในตลาด ทำให้ MKR ที่เราเห็นในกระดานเทรด มีราคาสูง

 

ข้อควรระวังของนักเทรด ในการเทรดเหรียญ Governance token คือคุณต้องมั่นใจว่า โทเคนนั้นมาจากแพลตฟอร์ม DeFi ที่มีผู้นิยมใช้งานเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง และมีระบบการจัดการโทเคนที่ดี เพื่อให้แน่ใจว่า จะไม่ถูกนักลงทุน เทขาย Governance token เป็นจำนวนมากในราคาที่ถูกมากๆ หากเกิดปัญหาขึ้นกับแพลตฟอร์ม DeFi ที่ออกเหรียญโทเคนนั้นๆ

4 thoughts on “Governance token คืออะไร?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *