Layer 0 ของ Blockchain คืออะไร?

Layer 0 ของ Blockchain คืออะไร?

โปรโตคอลเลเยอร์ 0 เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสร้างบล็อกเชนเลเยอร์ 1 ได้ ในฐานะเป็นเลเยอร์พื้นฐานสำหรับเครือข่ายบล็อกเชนและแอปพลิเคชัน โปรโตคอลเลเยอร์ 0 เป็นหนึ่งในโซลูชั่นมากมายที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายที่อุตสาหกรรมเผชิญ เช่น ความสามารถในการปรับขนาดและการทำงานร่วมกัน

คำนำ

ระบบนิเวศของบล็อกเชนประกอบด้วยอะไรบ้าง? มีวิธีหนึ่งในการจัดหมวดหมู่ส่วนต่าง ๆ ของระบบนิเวศดังกล่าว คือการจำแนกตามเลเยอร์ เหมือนกับว่ามันเป็นอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล

ระบบนิเวศบล็อกเชน สามารถจำแนกตามเลเยอร์ได้ดังต่อไปนี้:

เลเยอร์ 0: เป็นชั้นรากของบล็อกเชนโครงสร้างพื้นฐาน ที่สามารถสร้างบล็อกเชนเลเยอร์ 1 ต่อยอดไปได้อีกหลาย ๆ บล็อกเชน

เลเยอร์ 1: เป็นบล็อกเชนโครงสร้างพื้นฐานที่นักพัฒนาใช้เพื่อสร้างแอปพลิเคชัน เช่น แอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (DApps)

เลเยอร์ 2: เป็นโซลูชันการปรับขนาดที่จัดการกิจกรรมนอกบล็อกเชนเลเยอร์ 1 เพื่อลดภาระการทำธุรกรรมบนเลเยอร์ 1

เลเยอร์ 3: เป็นเลเยอร์แอปพลิเคชันบนบล็อกเชน รวมถึงเกม, กระเป๋าเงิน และ DApps อื่นๆ

อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถจำแนกระบบนิเวศบล็อกเชนทั้งหมดออกเป็นหมวดหมู่เหล่านี้ได้ ระบบนิเวศบางแห่งอาจไม่ได้มีครบทุกเลเยอร์ที่ว่ามา ในขณะที่บางเลเยอร์ สามารถจัดประเภทเป็นเลเยอร์ต่างๆ ได้ ขึ้นอยู่กับบริบท

โปรโตคอลเลเยอร์ 0 ช่วยแก้ไขปัญหาที่เครือข่ายเลเยอร์ 1 สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบ monolithic (เปลี่ยนแปลงอะไรได้ยาก) อย่างเช่น เครือข่าย Ethereum ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเลเยอร์ 0 ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น และให้นักพัฒนาเปิดตัวบล็อกเชนตามวัตถุประสงค์เฉพาะของตนเองบน Layer 0 อีกที เพื่อช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ความสามารถในการปรับขนาดและการทำงานร่วมกันระหว่างบล็อกเชน

Layer 0 แก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?

Interoperability การทำงานร่วมกัน

ความสามารถในการทำงานร่วมกัน หมายถึงความสามารถของเครือข่ายบล็อกเชนในการสื่อสารระหว่างกัน คุณสมบัตินี้ช่วยให้การโอนย้ายข้อมูลหรือทรัพย์สินที่อยู่คนละบล็อกเชนกัน สามารถโอนข้ามไปมาได้ ซึ่งจะมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับผู้ใช้

เครือข่ายบล็อกเชนเลเยอร์ 1 ที่สร้างขึ้นบนโปรโตคอลเลเยอร์ 0 อันเดียวกัน จะสามารถโต้ตอบกันได้ตามการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่จำเป็นต้องมี bridge หรือ สะพานเฉพาะ ในการใช้โปรโตคอลการโอนข้ามเชนซ้ำๆ กัน เครือข่ายเลเยอร์ 0 จะช่วยให้บล็อกเชนในระบบนิเวศเดียวกัน สามารถสร้างจากคุณสมบัติและกรณีการใช้งานของกันและกัน ผลลัพธ์ทั่วไปที่ได้ก็คือ ความเร็วในการทำธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นและมีประสิทธิภาพที่มากขึ้น

Scalability ความสามารถในการปรับขนาด

บล็อกเชนขนาดใหญ่ อย่างเช่น Ethereum มักจะเกิดการแออัดของธุรกรรม เนื่องจากโปรโตคอลเลเยอร์ 1 แบบเดี่ยว จะเป็นโปรโตคอลที่ให้ฟังก์ชันที่สำคัญทั้งหมด เช่น การดำเนินธุรกรรม, ระบบฉันทามติ และความพร้อมใช้งานของข้อมูล สิ่งนี้ทำให้เกิดคอขวดในขณะที่การปรับขนาดที่เลเยอร์ 0 จะสามารถบรรเทากิจกรรมเหล่านี้ได้ โดยการมอบหมายหน้าที่ที่สำคัญเหล่านี้ให้กับบล็อกเชนต่างๆ

การออกแบบนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าเครือข่ายบล็อกเชนที่สร้างขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐานเลเยอร์ 0 เดียวกันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพงานบางอย่างได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการขยายขนาด ตัวอย่างเช่น เชนที่ใช้ในการดำเนินการ จะสามารถปรับขนาดให้เหมาะสม เพื่อจัดการธุรกรรมจำนวนมากต่อวินาทีได้

Developer flexibility ความยืดหยุ่นของนักพัฒนา

เพื่อกระตุ้นให้นักพัฒนาสร้างโปรโตคอลเลเยอร์ 1 บนเลเยอร์ 0 ได้สะดวก จึงมักจะมีชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK) ที่ใช้งานง่ายและอินเทอร์เฟซที่ราบรื่นเพื่อให้แน่ใจว่านักพัฒนาสามารถเปิดตัวบล็อกเชนเลเยอร์ 1 เฉพาะวัตถุประสงค์ของตนเองได้อย่างง่ายดาย

โปรโตคอลเลเยอร์ 0 ช่วยให้นักพัฒนามีความยืดหยุ่นอย่างมากในการปรับแต่งบล็อกเชนของตนเอง ทำให้พวกเขาสามารถกำหนดรูปแบบการออกโทเค็นของตนเองและควบคุมประเภทของ DApps ที่พวกเขาต้องการสร้างขึ้นบนบล็อกเชนของตนได้

โปรโตคอล Layer 0 ทำงานอย่างไร?

โปรโตคอลเลเยอร์ 0 ทำงานได้หลายวิธี แต่ละแบบก็จะแตกต่างกันในด้านการออกแบบ, คุณสมบัติ และจุดที่จะโฟกัส

แต่โดยทั่วไปแล้ว โปรโตคอล Layer 0 จะทำหน้าที่เป็นบล็อกเชนหลักและสำรองข้อมูลธุรกรรมจากเชน เลเยอร์ 1 ต่างๆ ให้ แม้ว่าจะมี cluster มากมายของเชนเลเยอร์ 1 ที่สร้างขึ้นบนโปรโตคอลเลเยอร์ 0 แต่ก็มีโปรโตคอลการถ่ายโอนข้ามเชนที่ช่วยให้โทเค็นและข้อมูลสามารถถ่ายโอนข้ามบล็อกเชนเลเยอร์ 1 ต่างๆ ได้

โครงสร้างและความสัมพันธ์ของส่วนประกอบทั้ง 3 นี้อาจแตกต่างกันอย่างมากจากโปรโตคอลเลเยอร์ 0 อันหนึ่ง ไปยังอีกโปรโตคอลหนึ่ง เรามาดูตัวอย่างของบล็อกเชนเลเยอร์ 0 ต่อไปนี้:

Polkadot

Gavin Wood ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ได้ออกแบบบล็อกเชน Polkadot เพื่อให้นักพัฒนาสร้างบล็อกเชนเลเยอร์ 1 ของตนเองที่นี่ได้ โดยโปรโตคอลใช้เชนหลัก ที่เรียกว่า Polkadot Relay Chain และบล็อกเชนอิสระ(เลเยอร์ 1)แต่ละอันที่สร้างขึ้นบน Polkadot เรียกว่า Parallel chain หรือ Parachain

Relay Chain จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่าง Parachain และเพื่อให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพ จะใช้ sharding ซึ่งเป็นวิธีการในการแยกบล็อกเชนหรือฐานข้อมูลประเภทอื่นๆ ทำให้การประมวลผลธุรกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Polkadot ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม ด้วยระบบฉันทามติแบบ Proof-of-stake (PoS) เพื่อรับประกันความปลอดภัยของเครือข่ายและความสอดคล้องกัน สำหรับโครงการที่ต้องการมาสร้าง parachain บน Polkadot ต้องเข้าร่วมการประมูล slots โครงการ parachain โครงการแรกของ Polkadot ได้รับการอนุมัติในการประมูลในเดือนธันวาคม 2021

Avalanche

เปิดตัวในปี 2020 โดย Ava Labs โดยเน้นไปที่โปรโตคอล DeFi เครือข่าย Avalanche ใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบไตรบล็อกเชน ซึ่งประกอบด้วยเชนหลัก 3 เชน: เชนสัญญา (C-chain), เชนแลกเปลี่ยน (X-chain) และเชนแพลทฟอร์ม (P -chain)

เครือข่ายทั้ง 3 นี้ได้รับการกำหนดค่าโดยเฉพาะเพื่อจัดการฟังก์ชันหลักภายในระบบนิเวศ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในขณะที่มุ่งเป้าไปที่การใช้เวลาดำเนินการที่รวดเร็ว แต่ได้ปริมาณธุรกรรมจำนวนมาก X-Chain ใช้เพื่อสร้างและแลกเปลี่ยนสินทรัพย์, C-Chain ใช้เพื่อสร้างสัญญาอัจฉริยะ และ P-Chain ใช้เพื่อประสานงานตัวตรวจสอบความถูกต้องและ subnets โครงสร้างที่ยืดหยุ่นของ Avalanche ยังทำให้การแลกเปลี่ยนข้ามเชนเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและราคาถูก

Cosmos

ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 โดย Ethan Buchman และ Jae Kwon เครือข่าย Cosmos ประกอบด้วยเครือข่ายหลักบล็อกเชนที่ใช้ฉันทามติแบบ PoS ที่เรียกว่า Cosmos Hub และบล็อกเชนแบบกำหนดเองที่เรียกว่า Zones Cosmos Hub สามารถถ่ายโอนสินทรัพย์และข้อมูลระหว่าง Zone ที่เชื่อมต่อและมอบชั้นความปลอดภัยที่ใช้ร่วมกัน

แต่ละ Zone สามารถปรับแต่งได้สูง ช่วยให้นักพัฒนาสามารถออกแบบสกุลเงินคริปโตของตนเอง พร้อมการตั้งค่าการตรวจสอบบล็อกที่กำหนดเองและคุณสมบัติอื่นๆ แอปและบริการของ Cosmos ทั้งหมดที่โฮสต์ใน Zone เหล่านี้ จะโต้ตอบผ่านโปรโตคอล Inter-Blockchain Communication (IBC) สิ่งนี้ทำให้สินทรัพย์และข้อมูลสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างอิสระระหว่างบล็อกเชนอิสระ (Zone)

ส่งท้าย

บล็อกเชน Layer 0 นั้นขึ้นอยู่กับวิธีการออกแบบ เพื่อให้สามารถจัดการกับความท้าทายบางอย่างของอุตสาหกรรมคริปโต เช่น ความสามารถในการทำงานร่วมกันและความสามารถในการปรับขนาด อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการนำ Blockchain เลเยอร์ 0 มาใช้จะเป็นอย่างไรนั้น ต้องรอดูกันต่อไป เนื่องจากมีโซลูชันมากมายที่เกิดขึ้นเพื่อแข่งขันกันไปสู่เป้าหมายที่ไม่ต่างกัน

บทบาทที่สำคัญของบล็อกเชน Layer 0 ในการแก้ปัญหาความท้าทายของอุตสาหกรรมคริปโตนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดึงดูดนักพัฒนาให้มาสร้างโปรโตคอล บนบล็อกเชนเลเยอร์ 0 ของตัวเอง และแอพพลิเคชั่นที่โฮสต์บนโปรโตคอลนั้น ได้ให้คุณค่าที่แท้จริงแก่ผู้ใช้งานหรือไม่

ที่มา LINK

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *