
Liquidity Pools ใน DeFi คืออะไร และทำงานอย่างไร?
Liquidity Pools (กลุ่มสภาพคล่อง) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีพื้นฐานเบื้องหลังของระบบนิเวศ DeFi ในปัจจุบัน Liquidity Pools นั้นเป็นส่วนสำคัญของ automated market makers (AMM) ซึ่งเป็นระบบที่คอยดูแลสภาพคล่องแบบอัตโนมัติ, borrow-lend protocols (โปรโตคอลการให้ยืม), yield farming, synthetic assets (สินทรัพย์สังเคราะห์), on-chain insurance (การประกันภัยออนไลน์), blockchain gaming (การเล่นเกมบนบล็อกเชน) และอื่นๆ อีกมากมาย
Liquidity Pools มีความหมายที่ตรงไปตรงมาในตัวของมันเอง แนวคิดนี้เรียบง่ายอย่างที่สุด โดยพื้นฐานแล้ว กลุ่มสภาพคล่อง ก็คือ กองทุน ที่ผู้ใช้โยนเงินมารวมกันเป็นกองทรัพย์สินดิจิทัลขนาดใหญ่ แต่คุณจะสามารถทำอะไรได้บ้างกับ Liquidity Pools นี้ในสภาพแวดล้อมที่ ไม่ต้องขออนุญาต (permissionless) ที่ซึ่งใครก็ตามสามารถเพิ่มสภาพคล่องให้กับมันได้? เรามาสำรวจว่า DeFi ได้ใช้ประโยชน์จากแนวคิดเรื่องสภาพคล่องได้อย่างไร
คำนำ
Decentralized Finance (DeFi) ได้สร้างกระแสการบูมของกิจกรรมการเงินแบบดิจิทัล ปริมาณธุรกรรมบน DEX สามารถแข่งขันกับปริมาณธุรกรรมในกระดานซื้อขายแบบรวมศูนย์ได้อย่างมีนัยสำคัญ ณ เดือนธันวาคม 2020 มีมูลค่าเกือบ 15 พันล้านดอลลาร์ที่ถูกล็อคไว้ในโปรโตคอล DeFi ระบบนิเวศนี้กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่
แต่อะไรที่ทำให้การขยายตัวทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้? หนึ่งในเทคโนโลยีหลัก ที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทั้งหมดก็คือ liquidity pool
Liquidity Pool (กลุ่มสภาพคล่อง) คืออะไร ?
Liquidity Pool คือ กลุ่มของกองทุน แต่ละ pool ที่ถูกล็อคไว้ใน smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) กลุ่มสภาพคล่องถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายแบบกระจายอำนาจ, การให้กู้ยืม และฟังก์ชันอื่นๆ อีกมากมายที่เราจะศึกษาในภายหลัง
Liquidity Pool เป็นหัวใจสำคัญของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ (decentralized exchanges: DEX) มากมาย เช่น Uniswap ผู้ใช้ที่เรียกว่า ผู้ให้บริการสภาพคล่อง (liquidity providers: LP) จะเพิ่มมูลค่าที่เท่ากันของ 2 โทเค็นลงใน pool เพื่อสร้างตลาด โดยพวกเขาจะได้รับค่าธรรมเนียมการซื้อขายจากกิจกรรมการซื้อขายที่เกิดขึ้นใน pool ของพวกเขา เป็นค่าตอบแทนให้กับการจัดหาเงินทุนให้กับแพลตฟอร์ม ตามสัดส่วนของส่วนแบ่งของสภาพคล่องทั้งหมด
เนื่องจากใครๆ ก็สามารถเป็น ผู้ให้บริการสภาพคล่องได้ ในขณะที่ AMM ก็ช่วยทำให้ตลาดเข้าถึงได้มากขึ้น
หนึ่งในโปรโตคอลแรกๆ ที่ใช้ liquidity pools คือ Bancor แต่แนวคิดนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นจากความนิยมของ Uniswap รวมถึงแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนยอดนิยมอื่น ๆ บนบล็อกเชน Ethereum ที่ใช้ liquidity pools ได้แก่ SushiSwap, Curve และ Balancer กลุ่มสภาพคล่องในแพลตฟอร์มที่กล่าวไปเหล่านี้มีโทเค็นมาตรฐาน ERC-20 อยู่ใน pool ซึ่งเทียบเท่ากันบน BNB Chain คือ PancakeSwap, BakerySwap และ BurgerSwap โดยที่ใน pool จะมีโทเค็นที่เป็นมาตรฐาน BEP-20
Liquidity Pools เปรียบเทียบกับ Order Books
เพื่อทำความเข้าใจว่า Liquidity Pools มีความแตกต่างกันอย่างไร เรามาดูองค์ประกอบพื้นฐานของการซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็คือ order book พูดง่ายๆ ก็คือ order book หรือ สมุดคำสั่งซื้อ คือชุดของคำสั่งซื้อที่เปิดอยู่ในตลาดต่าง ๆ ในปัจจุบัน
ระบบที่ทำหน้าที่จับคู่คำสั่งซื้อซึ่งกันและกัน เรียกว่า ‘matching engine’ นอกเหนือจากกลไกการจับคู่แล้ว order book ยังเป็นแกนหลักของกระดานซื้อขายแบบรวมศูนย์ (centralized exchange: CEX) โมเดลนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการอำนวยความสะดวกในการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดตลาดการเงินที่ซับซ้อน
อย่างไรก็ตาม การซื้อขายบน DeFi นั้นเกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายแบบ on-chain โดยไม่มีศูนย์กลางมาคอยถือเงินไว้ ทำให้เกิดปัญหาในส่วนของ order book การโต้ตอบกับ order book แต่ละครั้งต้องเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งทำให้การดำเนินการซื้อขายมีราคาแพงกว่ามาก
นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มงานให้กับ market makers (ระบบดูแลสภาพคล่อง) นักลงทุนที่เป็นผู้ให้สภาพคล่องสำหรับคู่การซื้อขายจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก อย่างไรก็ตาม เหนือสิ่งอื่นใด บล็อกเชนส่วนใหญ่ไม่สามารถรองรับปริมาณงานที่จำเป็นสำหรับการซื้อขายหลายพันล้านดอลลาร์ได้ทุกวัน
ซึ่งหมายความว่า บนบล็อกเชน เช่น Ethereum การแลกเปลี่ยนแบบ on-chain ด้วย order book นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย คุณสามารถใช้ sidechains หรือโซลูชันเลเยอร์ 2 ได้ และสิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เครือข่ายไม่สามารถจัดการปริมาณงานในรูปแบบปัจจุบันได้
ก่อนที่เราจะไปไกลกว่านั้น เป็นเรื่องน่าสังเกตว่ามี DEX ที่ใช้งานได้ดีกับ order book แบบ on-chain อย่างเช่น Binance DEX ซึ่งสร้างขึ้นบน BNB Chain และได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อการซื้อขายที่รวดเร็วและราคาถูก อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Project Serum ที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชน Solana
ถึงกระนั้น เนื่องจากสินทรัพย์ส่วนใหญ่ในพื้นที่ crypto รันอยู่บน Ethereum คุณจึงไม่สามารถซื้อขายบนเครือข่ายอื่นได้ เว้นแต่คุณจะใช้ cross-chain bridge บางประเภท
Liquidity Pools ทำงานอย่างไร?
ระบบสร้างสภาพคล่องอัตโนมัติ (Automated market makers: AMM) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงเกมนี้ AMM เป็นนวัตกรรมที่สำคัญที่ช่วยให้สามารถซื้อขายแบบ on-chain ได้โดยไม่ต้องใช้ order book เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีคู่สัญญาโดยตรงในการดำเนินการซื้อขาย นักเทรดจึงสามารถเข้าและออกจาก position ในคู่โทเค็นที่มีแนวโน้มว่าจะมีสภาพคล่องสูง ใน order book บนกระดานซื้อขาย
คุณอาจนึกถึง order book บนกระดานซื้อขาย ว่าเป็นแบบ peer-to-peer (P2P) โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายเชื่อมต่อกันด้วย order book ตัวอย่างเช่น การซื้อขายบน Binance DEX เป็นแบบ P2P เนื่องจากการซื้อขายเกิดขึ้นโดยตรงระหว่างกระเป๋าเงินของผู้ใช้ทั้งสอง โดยที่ไม่ต้องผ่านตัวกลาง
การซื้อขายโดยใช้ AMM นั้นแตกต่างออกไป คุณอาจนึกถึงการซื้อขายบน AMM เป็นแบบ ‘peer-to-contract’
ดังที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า liquidity pool เป็นกลุ่มของเงินทุนที่ฝากไว้ใน smart contract โดย liquidity providers (ผู้ให้บริการสภาพคล่อง) เมื่อคุณดำเนินการซื้อขายกับ AMM คุณจะไม่มีคู่สัญญาในแง่ดั้งเดิม คุณกำลังดำเนินการซื้อขายกับ liquidity (สภาพคล่อง) ใน liquidity pool แทน สำหรับผู้ซื้อที่จะทำการซื้อ ก็ไม่จำเป็นต้องมีผู้ขายในขณะนั้น มีเพียง สภาพคล่อง ใน pool ที่เพียงพอเท่านั้น
เมื่อคุณซื้อเหรียญ food coin ล่าสุดบน Uniswap จะไม่มีผู้ขายเหรียญนี้ในอีกฝั่งหนึ่งตามแง่มุมดั้งเดิม แต่กิจกรรมของคุณจะได้รับการจัดการแบบอัตโนมัติ โดยอัลกอริธึมที่ควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นใน pool แทน นอกจากนี้ การกำหนดราคายังถูกกำหนดโดยอัลกอริธึมนี้ตามการซื้อขายที่เกิดขึ้นใน pool
แน่นอนว่า liquidity ต้องมาจากที่ไหนสักแห่ง และใครๆ ก็สามารถเป็น liquidity provider ได้ ดังนั้น พวกเขาจึงอาจถูกมองว่าเป็นคู่สัญญาของคุณในแง่หนึ่ง แต่จะไม่เหมือนกับในกรณีของรูปแบบ order book เนื่องจากคุณกำลังโต้ตอบกับ contract (สัญญา) ที่คอยควบคุม pool นั้น
Liquidity Pools ใช้ทำอะไร?
จนถึงตอนนี้ เราได้พูดถึง AMM เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการใช้ liquidity pools ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ดังที่เราได้กล่าวไปแล้ว การรวมสภาพคล่อง เป็นแนวคิดที่เรียบง่ายอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้ได้หลายวิธี
หนึ่งในนั้นคือการทำ yield farming หรือ liquidity mining ซึ่ง liquidity pools เป็นพื้นฐานของแพลตฟอร์มสร้างผลตอบแทนอัตโนมัติ อย่างเช่น แพลตฟอร์ม Yearn.finance โดยที่ผู้ใช้จะทำการเพิ่มเงินทุนของตนไปยัง pool ที่ใช้เพื่อสร้างผลตอบแทน
การแจกจ่ายโทเค็นใหม่ไปให้กับผู้ที่เหมาะสม ถือเป็นปัญหาที่ยากมากสำหรับโปรเจ็คต์ crypto ซึ่งการทำ Liquidity mining เป็นแนวทางหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมากกว่า โดยพื้นฐานแล้ว โทเค็นจะถูกแจกจ่ายตามอัลกอริทึมไปยังผู้ใช้ที่นำโทเค็นของตนไปไว้ใน liquidity pool จากนั้นโทเค็นที่สร้างขึ้นใหม่จะถูกกระจายตามสัดส่วนส่วนแบ่ง pool ของผู้ใช้แต่ละคน
โปรดระลึกอยู่เสมอว่า สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นโทเค็นจาก liquidity pools อื่น ๆ ที่เรียกว่า ‘pool token’ ได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณให้สภาพคล่องแก่ Uniswap หรือให้กู้ยืมเงินแก่ Compound คุณจะได้รับ ‘โทเค็น’ ที่แสดงถึงส่วนแบ่งของคุณใน pool คุณอาจฝากโทเค็นเหล่านั้นไปยังแหล่งอื่นและรับผลตอบแทนได้ เชนเหล่านี้อาจค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากโปรโตคอลได้ผสานรวม pool token ของโปรโตคอลอื่นๆ เข้ากับผลิตภัณฑ์ของตน เป็นต้น
เรายังอาจนึกถึง การกำกับดูแล (governance) เป็นกรณีการใช้งานอีกด้วย ในบางกรณี มีการลงคะแนนโทเค็นตามเกณฑ์ที่สูงมากเพื่อให้สามารถเสนอข้อเสนอการกำกับดูแลอย่างเป็นทางการของโปรโตคอลได้ หากเงินทุนถูกรวมเข้าใน pool เดียวกัน ผู้เข้าร่วมสามารถรวมตัวกันเพื่อสนับสนุนสาเหตุทั่วไปที่พวกเขาเห็นว่าสำคัญสำหรับโปรโตคอลนั้น
ภาค DeFi ที่เกิดขึ้นใหม่อีกกลุ่มหนึ่งคือ การประกันความเสี่ยงจาก smart contract มีการใช้งานหลายอย่างที่ขับเคลื่อนโดย liquidity pools
การใช้ liquidity pools ที่ล้ำสมัยยิ่งขึ้นอีกประการหนึ่งก็คือ สำหรับการซื้อขาย เป็นแนวคิดที่ยืมมาจากการเงินแบบดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินตามความเสี่ยงและผลตอบแทน ตามที่คุณคาดหวัง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ช่วยให้ LP (liquidity provider) สามารถเลือกโปรไฟล์ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่กำหนดเองได้
การสร้าง synthetic assets (สินทรัพย์สังเคราะห์) บนบล็อกเชน ยังต้องอาศัย liquidity pools ด้วย เป็นการเพิ่มหลักประกันให้กับ liquidity pool เชื่อมต่อกับ oracle ที่เชื่อถือได้ และคุณจะได้รับ โทเค็นสังเคราะห์ ที่เชื่อมโยงกับสินทรัพย์ใดก็ตามที่คุณต้องการ เอาล่ะ ในความเป็นจริง มันเป็นปัญหาที่ซับซ้อนกว่านั้น แต่แนวคิดพื้นฐานนั้นเรียบง่าย
เรานึกถึงอะไรได้อีก? อาจจะมีประโยชน์อีกมากมายสำหรับ liquidity pools ที่ยังไม่ถูกเปิดเผย และทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเฉลียวฉลาดของนักพัฒนา DeFi
ความเสี่ยงของ liquidity pools
เมื่อคุณเพิ่มสภาพคล่องให้กับ AMM คุณจะต้องตระหนักถึงแนวคิดที่เรียกว่า impermanent loss กล่าวโดยย่อคือ การสูญเสียมูลค่าเงินดอลลาร์เมื่อคุณให้สภาพคล่องแก่ AMM เทียบกับ HODLing (การถือครองโทเค็นไว้เฉย ๆ) หากคุณให้สภาพคล่องแก่ AMM คุณอาจต้องเผชิญกับ impermanent loss บางครั้งมันอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ บางครั้งมันอาจจะเป็นเรื่องใหญ่โต
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึง คือความเสี่ยงของ smart contract เมื่อคุณฝากเงินเข้าไปใน liquidity pool เงินเหล่านั้นจะอยู่ใน pool ดังนั้น แม้ว่าในทางเทคนิคแล้วมันไม่ได้มีพ่อค้าคนกลางถือเงินของคุณอยู่ แต่ตัว contract เองก็ถือได้ว่าเป็นผู้ดูแลเงินทุนเหล่านั้น หากมีข้อผิดพลาดหรือการแสวงหาผลประโยชน์ผ่านทาง flash loan เงินของคุณอาจสูญหายไปตลอดกาล
นอกจากนี้ ควรระวังโปรเจ็คต์ที่นักพัฒนาได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงกฎที่ควบคุม pool ได้ บางครั้ง นักพัฒนาสามารถมีรหัสแอดมินหรือการเข้าถึงสิทธิพิเศษอื่น ๆ ภายในโค้ดของ smart contract สิ่งนี้สามารถทำให้พวกเขาทำสิ่งที่เป็นอันตรายได้ เช่น การควบคุมเงินทุนใน pool
ส่งท้าย
Liquidity Pools เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มเทคโนโลยี DeFi ในปัจจุบัน ช่วยให้มีการซื้อขายแบบกระจายอำนาจ, การให้กู้ยืม, การสร้างผลตอบแทน และอื่นๆ อีกมากมาย smart contracts เหล่านี้ขับเคลื่อนเกือบทุกส่วนของ DeFi และมีแนวโน้มที่จะทำเช่นนั้นต่อไป
ที่มา LINK