
อะไรเป็นตัวกำหนด ราคา Bitcoin?
1. Bitcoin มีค่าได้อย่างไร?
กลไกตลาดที่เรียกว่าอุปสงค์และอุปทานมีอิทธิพลต่อ ราคา ของ Bitcoin ราคามักจะลดลงเมื่อมีผู้ขายมากขึ้น หรือในทางกลับกัน
Bitcoin (BTC) เป็นเหรียญดิจิทัลที่ไม่ได้ออกโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานทางกฎหมาย ตรงกันข้ามกับสกุลเงินทั่วไป เช่น ดอลลาร์ ปอนด์ ยูโร และเยน ในการสร้าง จัดเก็บ และย้าย BTC จำเป็นต้องมีเครือข่ายกระจายของผู้ใช้และโปรโตคอลการเข้ารหัส
นักลงทุน ดำเนินธุรกรรมทางการค้ากันได้โดยตรง โดยไม่ต้องมีคนกลาง เครือข่ายแบบ peer-to-peer ขจัดข้อจำกัดทางการค้า และเพิ่มความคล่องตัวในการค้า, Satoshi Nakamoto เป็นผู้เสนอสกุลเงินดิจิทัลตัวแรกของโลก ซึ่งก็คือ Bitcoin ในปี 2008 และได้เปิดตัวในเดือนมกราคม 2009
จำนวนธุรกิจที่ยอมรับ Bitcoin มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้มีมูลค่าตลาดที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม สกุลเงินเสมือนนี้ถูกรบกวนอย่างมาก จากปัญหาด้านความปลอดภัยและความผันผวน แม้จะได้รับความนิยมสูงสุด จึงนับเป็นเรื่องที่ท้าทายในการค้นหาคำตอบที่ตรงจุด สำหรับคำถามทั่วไป เช่น อะไรเป็นตัวกำหนดมูลค่าของ Bitcoin ใครเป็นผู้กำหนดราคาของ Bitcoin และ Bitcoin มีมูลค่าที่แท้จริงหรือไม่
พลวัตของตลาดแบบเดียวกัน เช่น อุปสงค์และอุปทานที่ส่งผลต่อราคาของสินค้า และบริการอื่น ๆ ก็ตัดสินมูลค่าของ Bitcoin เช่นกัน ราคาอาจจะสูงขึ้นหากมีผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย หรือในทางกลับกัน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ ต้องทราบว่าราคาของ Bitcoin ไม่ได้ถูกกำหนดโดยหน่วยงานเดียว หรือไม่สามารถซื้อขายได้ในที่แห่งเดียว ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน แต่ละตลาดหรือกระดานเทรดจะกำหนดราคาของมัน
2. ปัจจัยใดบ้างที่อาจส่งผลต่อ ราคา ของ Bitcoin ?
ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของ Bitcoin ได้แก่ อุปสงค์และอุปทานของ BTC การแข่งขันจากสกุลเงินดิจิทัล อื่น ๆ และข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงต้นทุนการผลิตและกฎระเบียบ
อุปสงค์และอุปทาน
ผู้ที่มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ จะทราบถึงกฎของอุปสงค์และอุปทาน ตามกฎเกณฑ์นี้ กลไกตลาดอุปสงค์และอุปทาน จะทำงานร่วมกัน เพื่อกำหนดราคาตลาด และปริมาณของสินค้าที่เฉพาะเจาะจง
อย่างเหตุการณ์ที่เรียกว่า Bitcoin ลดลงครึ่งหนึ่ง (Bitcoin halving) สามารถส่งผลกระทบต่อราคาของ Bitcoin ได้ เนื่องจาก เป็นสถานการณ์ที่ส่งผลให้อุปทานของ BTC นั้นลดลง ในขณะที่ความต้องการ BTC มีเพิ่มมากขึ้น ราคาของ BTC จึงขยับสูงขึ้น
นอกจากนี้ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นโดย Satoshi Nakamoto โดยมีการจำกัดจำนวนที่ 21 ล้าน BTC เท่านั้น ซึ่งนักขุดจะไม่ได้รับ Bitcoin ใหม่อีกต่อไป ในกระบวนการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมเมื่อจำนวน Bitcoin ถูกขุดออกมาจนครบ 21 ล้าน BTC, เมื่อถึงตอนนั้น เหตุการณ์ Bitcoin halving ที่รางวัลของแต่ละบล็อกจะลดลงในทุก ๆ 4 ปี อาจไม่ส่งผลกระทบต่อราคาของ BTC อีกต่อไปแล้ว แต่สิ่งที่จะกำหนดมูลค่าของ Bitcoin จะเป็นแอปพลิเคชันในชีวิตจริงแทน
การแข่งขัน และข่าวสาร
BTC ต้องเผชิญกับการแข่งขัน กับเหรียญ altcoins เช่น Ethereum (ETH) และเหรียญ meme เช่น Dogecoin (DOGE) ทำให้การกระจายพอร์ตโฟลิโอดึงดูดนักลงทุน การอัปเกรดหรือพัฒนาใด ๆ ของเหรียญคริปโตตัวอื่น ๆ อาจทำให้ราคาของ BTC ลดลง อีกทั้งการรายงานข่าวของสื่อต่าง ๆ ทำให้นักลงทุนต้องการซื้อสินทรัพย์ crypto ด้วยมุมมองข่าวสารในเชิงบวก และเลือกที่จะไม่ลงทุนกับเหรียญคริปโต ที่มีอนาคตคลุมเครือ
ต้นทุนการผลิต
ต้นทุนการผลิต Bitcoin รวมถึงค่าใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐาน ค่าไฟฟ้าสำหรับการขุด และระดับความยากของอัลกอริทึมทางคณิตศาสตร์ (ต้นทุนทางอ้อม) ระดับความยากต่างๆ ในอัลกอริทึมของ BTC สามารถชะลอ หรือเพิ่มความเร็ว ในการผลิต Bitcoin ได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปทานของ Bitcoin และจะส่งผลต่อราคาของมันด้วย
ระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายของคริปโตเคอเรนซี่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากประเทศต่างๆ เช่น เอลซัลวาดอร์ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย ในขณะที่ประเทศจีนกลับห้ามไม่ให้มีการทำธุรกรรม crypto อย่างเป็นทางการ หากมีความกังวลเกี่ยวกับการตัดสินใจของรัฐบาลเกี่ยวกับสกุลเงินคริปโต ราคาของ BTC ก็อาจลดลง นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนด้านกฎระเบียบจะสร้างความกลัวให้กับนักลงทุน ทำให้มูลค่าของ Bitcoin ลดลงไปอีก
3. ทำไมราคา Bitcoin ถึงผันผวนมาก?
ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมูลค่าที่แท้จริงของ Bitcoin และมูลค่าในอนาคตของ BTC ทำให้เป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง
เนื่องจาก Bitcoin มีจำนวนจำกัด ปริมาณ BTC ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นในแต่ละวันจึงลดลง เพื่อรักษาราคาให้คงที่ อุปสงค์ต้องตรงกับอัตราเงินเฟ้อนี้ ตลาด Bitcoin ค่อนข้างเล็ก เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ และการรายงานข่าวของสื่อเพียงอย่างเดียวสามารถผลักดันราคาให้สูงขึ้น หรือลดลงได้ ตัวอย่างเช่น ข่าวคราวของ Tesla ที่ยินดีรับชำระด้วย BTC ส่งผลให้มูลค่า BTC พุ่งสูงขึ้นในทันที หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งของข่าวนี้ ก็คือ ทำให้ราคาของ Bitcoin มีความผันผวนสูงนั่นเอง
ในทำนองเดียวกัน ทวีตที่บล็อกเชนของ Bitcoin ถูกระงับ ก็ส่งผลให้มูลค่าของ BTC ลดลง ตามด้วยปริมาณการซื้อขาย Bitcoin ที่ลดลง ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงความผันผวนที่สูง ก็ชวนให้คิดได้ว่า ราคา Bitcoin จะสามารถกลายเป็นศูนย์ได้หรือไม่? ในทางเทคนิคแล้วเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น ราคาของ BTC ที่ไม่ได้ถูกตรึงมูลค่าไว้กับสกุลเงินทั่วไป อย่างเช่น ดอลลาร์สหรัฐหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ในโลกแห่งความเป็นจริง มันไวต่อความผิดพลาดของมูลค่า
อย่างไรก็ตาม เราได้เห็นแล้วว่าอัลกอริทึม Stablecoins เช่น Terra USD ที่ถึงแม้จะเสนอการตรึงมูลค่ากับเงินดอลลาร์ แต่สุดท้ายก็ล่มสลายและสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดได้เช่นกัน
สำหรับเหตุการณ์หายนะดังกล่าวที่อาจมองว่าจะเกิดขึ้นในกรณีของ BTC แต่ก็มีจุดสังเกตุจำนวนมาก เช่น ตลาดกระทิงที่ขยายตัว จะปรากฏขึ้นล่วงหน้าก่อน เพื่อให้นักลงทุนสามารถปกป้องเงินทุนของตัวเองได้ นอกจากนี้ กลไกลของ Bitcoin ที่ซับซ้อนนั้น ไม่ง่ายเลยที่จะทำลายได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านความสามารถในการปรับขนาด อาจทำให้อนาคตของ Bitcoin ตกอยู่ในความเสี่ยง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ราคาของ BTC จะลดลงเป็นศูนย์ ในทันที
4. จะเกิดอะไรขึ้นหากราคาของ Bitcoin ลดลงเหลือศูนย์?
หากราคาของ BTC ลดลงเหลือ ศูนย์ มันจะส่งผลกระทบต่อเทรดเดอร์ นักลงทุนสถาบัน ราคาของสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ องค์กรคริปโตเคอเรนซี่ และระบบการเงินทั้งหมด
สมมติว่า ตอนนี้ราคาของ BTC ลดลงเหลือศูนย์ มันจะส่งผลกระทบต่อราคาของเหรียญคริปโตตัวอื่น ๆ ทันที นักลงทุนจำนวนมากจะรีบเทขายเหรียญคริปโต อาจจะโดยส่วนใหญ่ หรือเทขายไปทั้งหมด เพื่อลดการขาดทุน โดยขึ้นอยู่กับประเภทการลงทุนของพวกเขา
นักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่อาจมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการลงทุนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อกระจายพอร์ตการลงทุนของตน ผู้ที่เสี่ยงมากที่สุด ก็คือผู้ที่ลงทุนเมื่อเร็ว ๆ นี้ในราคาที่สูง หรือในตราสารอนุพันธ์ของคริปโต และพวกเขาจำเป็นต้องเลิกกิจการสินทรัพย์อื่น ๆ เพื่อดำเนินการเรียกเงินประกัน
ลูกค้าอาจสูญเสียความเชื่อมั่นในระบบที่ดูเหมือนจะพังทลายลง ส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี่ เช่น Coinbase, Binance และอื่น ๆ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ขึ้นอยู่กับลูกค้าในการทำธุรกรรมเพื่อสร้างรายได้ และเงินทุนหรือการลงทุนในบริษัทเหล่านี้อาจหยุดลงพร้อมกัน หรือลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ องค์กรดังกล่าวอาจไม่สามารถจ้าง จ่ายเงิน หรือดึงดูดบุคลากรที่จำเป็นในการดำเนินงาน และขยายกิจการได้อีกต่อไป
นอกจากนี้ อาจส่งผลกระทบอย่างน้อยชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อระบบการเงินส่วนอื่น ๆ เนื่องจาก:
- แรงกดดันด้านลบต่อทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ทรัพย์สินที่ยอมขายขาดทุน เพื่อหาเงินมาปฏิบัติตามภาระผูกพัน เช่น การจ่ายค่าตอบแทน การเรียกเงินประกัน การบำรุงรักษาสถานที่ ฯลฯ และ
- การสะสมของหนี้เสีย หรือสินเชื่อ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เนื่องจากการผิดนัดชำระหนี้ ท่ามกลางการสูญเสียรายได้และเงินทุน
ที่มา Cointelegraph